เหตุผลวิบัติ

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน

และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

 

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั่นคือ การที่ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน
ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และรู้จักตั้งคำถาม การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การเมินความน่าเชื่อถือ
ของข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ ความเข้าใจการประเมินค่าสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ การสร้าง การใช้
ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
digital-marketing.png

 

ตัวชี้วัด

ว 4.2 ม.3/3 ประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล วิเคราะห์สื่อ และผลกระทบจากการ ให้ข่าวสารที่ผิดเพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน

Abstract Pattern 12กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

Capture3.PNG

 

 

Abstract Pattern 12บทเรียน

ใบความรู้ที่ 7 เหตุผลวิบัติ (Logical Fallacy)

Slide7.JPG
 
 

ตัวอย่างการใช้เหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ
“คนไทยที่เก่งภาษาอังกฤษ อยู่ในกรุงเทพฯ 
ผมเป็นคนกรุงเทพฯ ดังนันผมเก่งภาษาอังกฤษ”

ซึ่งเมื่อฟังแล้วอาจคล้อยตาม
แต่ในความเป็นจริงคนกรุงเทพทุกคนอาจไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษ


ตัวอย่างเหตุผลวิบัติแบบไม่เป็นทางการ
เช่น มีแม่คนหนึ่ง ขโมยนมผง เพื่อจะนำไปให้ลูกต่อมาทางเจ้าของร้านจับได้
จึงจะแจ้งความเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมาย แต่มีชาวบ้านคนหนึ่ง พูดว่า

“อย่าไปเอาเรื่องกับเธอเลย เธอแค่เป็นแม่งที่ห่วงลูก และเธอยากจน”
ซึ่งความจนไม่ใช่ข้ออ้าง ในการทำผิดกฎหมาย
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดตามกฎหมาย
แต่คนที่แสดงความเห็นกลับมุ่งประเด็นไปที่เหตุผลของการกระทำ
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นการให้เหตุผล โดยอ้างถึงความน่าสงสาร
ความเห็นอกเห็นใจเปลี่ยนให้เป็นความถูกต้อง

 

testament.pngใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้

Slide7 (1).JPG

 

ชั่วโมงที่ 2

Abstract Pattern 12บทเรียน

เหตุผลวิบัติ
หมายถึง การพิสูจน์โดยการอ้างเหตุผลที่มีไม่มีน้ำหนัก
เพื่อสนับสนุนในข้อสรุปการให้เหตุผลวิบัติมีความแตกต่าง
จากการให้เหตุผลแบบอื่นๆ
เนื่องจากหลายคนมักจะพบว่าการให้เหตุผลนั้น
มีความน่าเชื่อถือในทางจิตวิทยา
ซึ่งจะส่งผลให้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิดและยกเหตุผลอย่างผิด
โดยใช้เป็นเหตุผลที่จะเชื่อในข้อสรุปนั้น
การให้เหตุผลอาจจะกลายเป็น 
“เหตุผลวิบัติ” ได้
แม้ว่าข้อสรุปนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม

จากกรณีตัวอย่างที่แต่ละคนได้นำมาเสนอ
จะพบว่า คนส่วนมากที่แสดงตรรกะวิบัติออกมา
มักจะไม่มีความคิดว่าสิ่งที่คิดและทำนั้นผิด
การอ้างหรือยกอะไรขึ้นมา พูดมักเป็นแบบคิดเองเออเอง
เช่น 
ชอบอ้างคนหมู่มาก ใคร ๆ ก็ทำกัน ฉันทำฉันก็ไม่ผิด

โจมตีคนอื่นที่ตัวตน ไม่ใช่เรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่
อย่ามาสอน ถ้าเธอเองยังทำไม่ได้
วกกลับไปจุดเริ่มต้น ตัดสินใหม่ เปลี่ยนใจได้ตลอด
โลกนี้มีแค่ 2 ทางเลือก แต่ทางของฉันคือถูกเสมอ
การใช้คำพูดสวยหรู ฟังดูเท่ ทั้งที่เหตุผล และข้อเท็จจริงเบาหวิวมาก
การใช้วิธีดราม่าน่าสงสาร

ตรรกะวิบัติเกิดจากข้อบกพร่องจากการคิด
ทั้งการเปลี่ยนแปลงประเด็นของการคิดโดยไม่รู้ตัว
การลงข้อสรุปโดยการอุปนัยหรือการนิรนัยที่ไม่เหมาะสม
และการปล่อยให้อารมณ์หรือความรู้สึกเข้ามามีบทบาทในการคิดมากเกินไป

Abstract Pattern 12สรุป

ในแต่ละวันเราใช้เหตุผลในการหาคำตอบให้กับสิ่งต่างๆ
โดยที่บางทีก็อาจจะเผลอใช้เหตุผลวิบัติ
โดยไม่รู้ว่าเป็นการใช้เหตุผลแบบไม่เหมาะสม
ซึ่งการใช้เหตุผลอย่างไม่เหมาะสมจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาด
นำไปสู่คำตอบที่ไม่สมเหตุสมผล หรือคำตอบที่ได้มาโดยมิชอบ
ก่อนที่เชื่อในเรื่องใด หรือนำข้อมูลที่ถึงแม้จะมีการให้เหตุผล
ก็จำเป็นต้องพิจารณาก่อนว่า
เป็นการใช้เหตุผลอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่