ผลกระทบของข้อมูลที่ผิดพลาด

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน

และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

 

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั่นคือ การที่ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน
ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และรู้จักตั้งคำถาม การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การเมินความน่าเชื่อถือ
ของข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ ความเข้าใจการประเมินค่าสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ การสร้าง การใช้
ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
digital-marketing.png

 

ตัวชี้วัด

ว 4.2 ม.3/3 ประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล วิเคราะห์สื่อ และผลกระทบจากการ ให้ข่าวสารที่ผิด

เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน

 

Abstract Pattern 12กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

 

ตัวอย่างของผลกระทบของข้อมูลที่ผิดพลาด
ผู้หญิงคนหนึ่งได้รับอีเมลจากทางธนาคารแจ้งว่า
ทางธนาคารได้มีการตรวจสอบบัญชีของคุณแล้ว
พบว่า บัญชีธนาคารของคุณมีความเคลื่อนไหวผิดปกติ
ดังนั้น ทางธนาคารจะขอตรวจสอบบัญชีธนาคารของคุณ
เป็นเวลา 3 วัน โดยที่คุณจะต้องไม่ทำการฝาก ถอน
ตรวจสอบบัญชี หรือทำการใดๆ
เกี่ยวกับบัญชีธนาคารทั้งสิ้น
นอกจากนั้น คุณจะต้องส่งข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน
และรหัสผ่านเอทีเอ็มของบัญชีธนาคารนี้กลับมาที่อีเมลนี้ด้วย
จากข้อความข้างต้น ให้ช่วยกันวิเคราะห์ว่า จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง?

 

Abstract Pattern 12บทเรียน


testament.pngใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้

Slide8 (1).JPG

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัด
ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
เมื่อแชร์ข้อมูลต่างๆลงบนอินเทอร์เน็ต
อาจะทำให้ผู้ที่แชร์ข้อมูลถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว
จนเกิดเป็นอาชญากรรมบนเครือข่าย
และการได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด
อาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่ไม่ได้มีความผิด
แต่ถูกกล่าวอ้าง หรือทำให้ได้รับความเสียหาย
จนทำให้เกิดเป็นปัญหาด้านสุขภาพ
รวมไปถึงการแชร์ข้อมูลที่เป็นเท็จลงในโลกออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเห็นได้
อาจจะทำให้ผู้ที่แชร์ข้อมูลที่เป็นเท็จถูกดำเนินคดี

 

Abstract Pattern 12สรุป

ทุกวันนี้มีผู้คนมากมายที่ใช้อินเทอร์เน็ต
เป็นเครื่องมือในการฉ้อโกงเหยื่อในหลากหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นการหลอกให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ
การหลอกให้กด pop-up ที่เต็มไปด้วยมัลแวร์แฝงอยู่
และข้อความหวาน ๆ ทางแชทโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่หลอกให้อีกฝ่ายตายใจ
เพื่อโอนเงินให้ การเรียนรู้ เข้าใจถึงผลที่ตามมา
จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต
ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างระมัดระวัง ป้องกันตนเอง
และสร้างสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์