การรู้เท่าทันสื่อ

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน

และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

 

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั่นคือ การที่ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน
ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และรู้จักตั้งคำถาม การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การเมินความน่าเชื่อถือ
ของข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ ความเข้าใจการประเมินค่าสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ การสร้าง การใช้
ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
digital-marketing.png

 

ตัวชี้วัด

ว 4.2 ม.3/3 ประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล วิเคราะห์สื่อ และผลกระทบจากการ ให้ข่าวสารที่ผิด

เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน

 

Abstract Pattern 12กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

Abstract Pattern 12บทเรียน

แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เพื่อให้ทำกิจกรรมนำเสนอข้อมูลการรู้เท่าทันสื่อ
วิธีการทำกิจกรรม คือ ให้แต่ละกลุ่ม ใช้บริการ Google Slide
ในการออกแบบสื่อเพื่อนำเสนอ
โดยให้เพิ่มสมาชิกกลุ่มทุกคนเข้าเป็นผู้ร่วมทำงาน
รวมทั้งเพิ่มครูเป็นผู้ร่วมทำงาน
เพื่อคอยดูความคืบหน้า และคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม
โดยเนื้อหาที่นำเสนอ จะต้องประกอบไปด้วย

1. ความหมายของการรู้เท่าทันสื่อ
2. องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ
3. การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
4. ระดับของการรู้เท่าทันสื่อ
5. ปัญหาที่พบจากการใช้สื่อในปัจจุบัน
6. ผลกระทบจากการใช้สื่อที่ผิดพลาด
7. ประโยชน์ของการรู้เท่าทันสื่อ


การรู้เท่าทันสื่อ
นำไปสู่การตระหนักในสิทธิการสื่อสารของประชาชน
และทำให้สามารถสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์มีคุณภาพ
และเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งเท่ากับการสร้างความเข้มแข็ง
ให้กับโครงสร้างประชาธิปไตยของสังคมอีกด้วย

ชั่วโมงที่ 2

Abstract Pattern 12บทเรียน

การรู้ดิจิทัล หรือ Digital literacy
หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน
หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน
หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

ชั่วโมงที่ 3

Abstract Pattern 12บทเรียน

การรู้เท่าทันสื่อ
เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ควรปฏิบัติในการดำเนินงานต่างๆ
เพื่อได้รับผลสำเร็จลุล่วง
ซึ่งองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ คือ

1. ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ
2. ความเข้าใจการประเมินค่าสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
3. การสร้าง การใช้ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
4. การสะท้อนคิด

 

Abstract Pattern 12สรุป

การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ
เป็นลักษณะของสมรรถนะที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าถึง
สารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล
การเลือกรับ วิเคราะห์ ประเมิน
และมีข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์
รวมทั้งความสามารถผลิตสื่อ
เพื่อขับเคลื่อนสังคมได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ