การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน

และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

 

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั่นคือ การที่ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน
ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และรู้จักตั้งคำถาม การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล การเมินความน่าเชื่อถือ
ของข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ ความเข้าใจการประเมินค่าสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ การสร้าง การใช้
ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อdigital-marketing.png

 

ตัวชี้วัด

ว 4.2 ม.3/3 ประเมินความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล วิเคราะห์สื่อ และผลกระทบจากการ ให้ข่าวสารที่ผิดเพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน

Abstract Pattern 12กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน

“เมื่อเด็กๆ ต้องการนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ เด็กๆ มีวิธีการประเมินความน่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง?”

Abstract Pattern 12บทเรียน

ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น โดยทั่วไปมักมีจำนวนมาก
มีความหลากหลายของประเภทข้อมูล
ในด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ
ดังนั้น การนำข้อมูลจากการสืบค้นไปใช้ประโยชน์ 
จำเป็นต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
เพื่อคัดแยกหรือเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
มีความถูกต้อง และตรงตามความต้องการ
เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความน่าเชื่อถือของข้อมูลควรประเมินจาก 12 องค์ประกอบ ได้แก่
1. บอกวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลไว้ในเว็บไซต์
2. การเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
3. เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม
4. มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์
5. มีการให้ที่อยู่ (E-mail address) ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้
6. มีการอ้างอิงหรือระบุแหล่งที่มาของข้อมูลของเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์
7. สามารถเชื่อมโยง (Link)ไปเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึงได้
8. มีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์
9. มีการระบุวันเวลาในการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด
10. มีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น
11. มีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
12. มีการระบุว่าเป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือระบุแหล่งที่ให้การสนับสนุนในการสร้าง

testament.pngใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้

Slide5 (1).JPG

Abstract Pattern 12สรุป

เมื่อต้องการข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ
สามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลรอบตัวที่มีอยู่มากมาย
และควรเลือกค้นหาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ซึ่งมีลักษณะเป็นแหล่งที่มีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์
มีเหตุผล และมีการอ้างอิง
จึงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง